
ตุ่ม สามารถเกิดขึ้นได้ตามร่างกาย แต่จู่ๆก็มาขึ้นอี่อวัยวะเพศนี้สิจะทำอย่างไรดี แบบนี้ก็คงจะทำให้หนุ่มๆหลายคนเกิดความกังวลใจว่าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า ซึ่งวันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน โดยต้องบอกว่า ตุ่มหรือก้อนเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศชาย คงไม่สามารถที่จะทำการตรวจวินิจฉัยได้จากคำอธิบาย ทางที่ดีควรที่จะต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยจะดีกว่า ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะทำการซักประวัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- เรื่องของอายุ หากอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ให้ระวังในเรื่องของโรคมะเร็ง
- เรื่องของอาการ หากไม่มีอาการก็อาจจะเป็นเพียงก้อนไขมัน เนื้องอก ฯลฯ แต่ในกรณีที่มีอาการเจ็บ อาจเป็นก้อนที่เกิดขึ้นมาจากการอักเสบ แต่หากมีอาการคัน ก็อาจจะเกิดขึ้นมาจากภูมิแพ้ หรือเชื้อรา นอกจากนี้แล้วหากพบว่ามีหนองไหลออกมาจากท่อทางปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผลมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างเช่น ต่อมน้ำเหลืองโตร่วมกับโรคหนองในแท้ หนองในเทียม
- ช่วงของระยะเวลาที่เป็น หากเพิ่งเป็นก้อนหรือตุ่มที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นเพียงการอักเสบ แต่ถ้าเป็นมานานแล้ว อาจจะเป็นผลมาจากโรคเรื้อรัง อย่างเช่น วัณโรค โรคเรื้อน ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ฯลฯ นอกจากนี้อาจจะสอบถามในเรื่องอื่นๆด้วยเช่นกัน เที่ยวผู้หญิง สำส่อน อาจส่งผลทำให้เกิดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เคยฝังมุก นอกจากก้อนนั้นเป็นมุก ซึ่งการฝังมุกอาจส่งผลทำให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบหรือภูมิแพ้ เคยเป็นป่วยเป็นโรคมะเร็งลูกอัณฑะ หรือโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาจเป็นผลมะเร็งที่กระจายมา ฯลฯ
นอกจากการซักประวัติ ทั้งนี้แพทย์จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจร่างกาย เพื่อดูลักษณะของก้อนที่เกิดขึ้นและเพื่อให้ทราบว่าเป็นอะไร โดยก้อนหรือตุ่มที่เกิดขึ้นที่อวัยวะเพศชายเป็นได้มากมายหลากหลายแบบ ส่วนใหญ่ที่พบได้มากมีดังต่อไปนี้
- ก้อนหรือตุ่มที่เกดขึ้นจากการอักเสบ ได้แก่ รูขุมขนอุดตัน สิว ก้อนไขมันที่เกิดการอักเสบ การฝังมุกแล้วส่งผลก่อให้เกิดอาการอักเสบ
- ก้อนที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างเช่น ต่อมน้ำเหลืองโตจากแผลริมอ่อน ต่อมน้ำเหลืองโตที่เกิดร่วมกับโรคหนองในแท้ หนองในเทียม
- ก้อนหูด อย่างเช่น หูดหงอนไก่ ฯลฯ นอกจากนี้อาจเป็นก้อนที่เกิดขึ้นมาจากการติดเชื้อราและผิวหนังเกิดการอักเสบ
- ก้อนที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคเรื้อรัง อย่างเช่น วัณโรค โรคเรื้อน ฯลฯ
- ก้อนที่เกิดขึ้นมาจากการติดเชื้อพยาธิ อย่างเช่น พยาธิตัวจี๊ด หรืไม่บางครั้งก็เกิดขึ้นมาจากก้อนหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดอักเสบ เส้นเลือดขอด ฯลฯ
- ก้อนเนื้องอกธรรมดาของผิวหนัง อย่างเช่น ก้อนไขมัน ก้อนพังผืด หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นก้อนมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง หรือมะเร็งที่กระจายมาจากแหล่งอื่น
แต่อย่างไรก็ดีหากแพทย์ผู้ทำการรักษาไม่อาจวินิจฉัยได้จากประวัติและลักษณะของก้อน แพทย์ก็อาจจะทำการขริบเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาว่าเป็นก้อนอะไร เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง